|
|
|
|
|
||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
---|
Thai Traditional Medicine Development Foundation (TTMDF) |
เครื่องหมายมูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา (Logo)
|
วงกลมล้อมรอบหม้อยา ซึ่งหม้อยาตั้งอยู่บนใบไม้เขียนลวดลายแบบไทย ๆ ชื่อมูลนิธิ และที่ตั้งสำนักงานอยู่ที่ขอบวงกลมรอบนอกหม้อยาแทนการแพทย์แผนไทยใบไม้แทนสมุนไพรหรือตัวยาที่มีอยู่มากมาย ลักษณะที่เป็นวงกลมให้ความรู้สึกถึงดวงจันทร์ ที่ให้แสงสว่างส่องให้เป็นประกาย
|
ที่ตั้งมูลนิธิฯ
|
- สำนักงานบริหารกลาง : เลขที่ 106/22-25 อาคารคลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์สุพรหมอาศรม ชั้น 2 ซอยทิมแลนด์ ถนนงามวงศ์วาน ตำบลบางเขน อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 02-045-6942
หน่วยจัดการการเรียนการสอน - สาขาเภสัชกรรมไทยและเวชกรรมไทย : เลขที่ 96/50 ซอยศิริชัย 1 ตำบลบางเขน อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 02-527-7737 - สาขานวดไทย : เลขที่ 106/22-25 อาคารคลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์สุพรหมอาศรม ชั้น 1 ซอยทิมแลนด์ ถนนงามวงศ์วาน ตำบลบางเขน อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 02-965-9881 ผลิตภัณฑ์และบริการ - คลินิกการแพทย์แผนไทยสุพรมอาศรม : อาคารคลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์สุพรหมอาศรม ชั้น 1 ซอยทิมแลนด์ ถนนงามวงศ์วาน ตำบลบางเขน อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 02-965-9636 - คลินิกการแพทย์แผนไทย แผนไทยโอสถ : เลขที่ 96/50 ซอยศิริชัย 1 ตำบลบางเขน อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 02-527-7738 - ศูนย์แปรรูปผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร : เลขที่ 96/50 ซอยศิริชัย 1 ตำบลบางเขน อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 02-195-9082 - ศูนย์ตำราการแพทย์แผนไทย : เลขที่ 96/50 ซอยศิริชัย 1 ตำบลบางเขน อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 02-195-9081 |
ประวัติความเป็นมา
|
ในปี 2536 พณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในขณะนั้น คือ นายแพทย์อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม พิจารณาเห็นว่าการที่กระทรวงสาธารณสุขจะพัฒนาการแพทย์แผนไทยอย่างจริงจัง ต้องตั้งหน่วยงานกลางขึ้นมาเป็นหน่วยงานในการประสานงาน และควบคุมดูแลการดำเนินงานการแพทย์แผนไทยจึงร่วมกับผู้บริหารกรมการแพทย์ และแพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ จัดตั้ง สถาบันการแพทย์แผนไทย ขึ้นเป็นหน่วยงานระดับกอง สังกัดกรมการแพทย์ เพื่อรับผิดชอบงานการแพทย์แผนไทยของกระทรวงสาธารณสุขโดยมอบหมายให้แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ ซึ่งมีตำแหน่งเป็นนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรีในขณะนั้น มาทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย
เมื่อสถาบันฯ ดำเนินงานไประยะหนึ่งพบว่ามีปัญหาติดขัดหลายประการที่สำคัญคืองบประมาณทั้งในแง่จำนวน และการใช้ ทั้งนี้เพราะการจัดตั้งสถาบันการแพทย์แผนไทยเป็นการจัดตั้งขึ้นระหว่างปีงบประมาณ และเป็นเพียงการ แบ่งส่วนราชการภายในของกรมการแพทย์ การจัดสรรงบประมาณจึงสนับสนุนได้ไม่เต็มที่ และที่สำคัญกระทรวงสาธารณสุขละเลยการพัฒนาการแพทย์แผนไทยมากว่า 100 ปี ดังนั้นองค์กร/หน่วยงาน และบุคลากรที่ปฏิบัติด้านการพัฒนา การแพทย์แผนไทยส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานภาคเอกชนนอกกระทรวงสาธารณสุขการที่สถาบันฯ จะสนับสนุนงบประมาณให้กับหน่วยงานต่าง ๆ เหล่านั้นยังขัดต่อระเบียบการใช้งบประมาณ ด้วยเหตุผลเหล่านี้ นายแพทย์อุดมศิลป์ ศรีแสงนามและคณะกรรมการจัดตั้งสถาบันฯ จึงมีความเห็นกันว่าน่าจะจัดงานทศวรรษการแพทย์แผนไทย เพื่อเปิดตัวและประชาสัมพันธ์สถาบันการแพทย์แผนไทยรวมทั้งระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนในการพัฒนาการแพทย์แผนไทย เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในปี พ.ศ. 2539 กระทรวงสาธารณสุขได้จัดหาทุน เพื่อก่อตั้งมูลนิธิฯ ถวายเป็นพระราชกุศลเพื่ออนุรักษ์การแพทย์แผนไทยตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากปัจจุบันการแพทย์แผนตะวันตก หรือการแพทย์แผนใหม่เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหาสาธารณสุขของประเทศ จึงจำเป็นต้องเร่งพัฒนาการแพทย์แบบอื่น ๆ เพื่อให้เป็นทางเลือกของประชาชนในการดูแลรักษาสุขภาพตลอดจนแก้ปัญหาสาธารณสุขของประเทศโดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารตามจังหวัดต่าง ๆ กระทรวงสาธารณสุขพิจารณา เห็นว่า การแพทย์แผนดั้งเดิมของไทยเป็นทางเลือกหนึ่งที่สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมประเพณี เศรษฐกิจ และสังคม ทั้งยังส่งเสริมหลักการพึ่งตนเองของประชาชนในเรื่องการดูแลสุขภาพ แต่เนื่องจากที่ผ่านมาการแพทย์แผนไทยได้ถูกละเลยมาร่วมร้อยปีการจะเร่งฟื้นฟูพัฒนาให้ทันกับการแก้ปัญหาสาธารณสุขของประเทศ จึงจำเป็นต้องกระทำอย่างเร่งด่วน จึงได้จัดตั้งมูลนิธิเพื่อการพัฒนาการแพทย์แผนไทยขึ้นชื่อว่า มูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา โดยมีทุนแรกเริ่ม 300 ล้านบาท จากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลทั้งนี้จะนำดอกผลที่ได้มาใช้เพื่อการส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนาการแพทย์แผนไทยให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และครอบคลุมทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 2. เป็นกองทุนสำหรับการสนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิ/หน่วยงาน สมาคมและชมรมที่ดำเนินงานด้านการแพทย์แผนไทย 3. สนับสนุนส่งเสริมให้มีการศึกษาและพัฒนาการศึกษาเกี่ยวกับองค์ความรู้ทางการแพทย์แผนไทยทั้งภาครัฐและเอกชนให้เป็นระบบครบวงจร 4. บูรณะและฟื้นฟูสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนไทย 5. ร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่น ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์ 6. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด 2. การสนับสนุนการเรียนการสอนแพทย์แผนไทยของโรงเรียน/สมาคม/ชมรม/มูลนิธิด้านการแพทย์แผนไทย 7,000,000 บาท 3. การสนับสนุนองค์กรเอกชนด้านการแพทย์แผนไทย 5,000,000 บาท 4. โครงการศึกษาวิจัยการแพทย์แผนไทย 13,000,000 บาท 5. โครงการพัฒนาสมุนไพรครบวงจร 5,500,000 บาท รวม 39,836,000 บาท (สามสิบเก้าล้านแปดแสนสามหมื่นหกพันบาทถ้วน) ในการจัดเตรียมการจัดงานทศวรรษการแพทย์แผนไทย ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเตรียมงานขึ้นมา 9 ชุด ชุดหนึ่ง คือ คณะกรรมการด้านการจัดหาทุน ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการหาทุนเพื่อก่อตั้งกองทุนส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาการแพทย์แผนไทยคณะกรรมการจัดหาทุน (มีนายแพทย์นพดล สมบูรณ์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรมในขณะนั้นเป็นประธานคณะกรรมการ) ได้กำหนดกิจกรรมในการจัดหาทุน 3 กิจกรรม ดังนี้ 1. จัดทำรูปหล่อท่านชีวกโกมารภัจจ์ให้เช่า การจัดทำรูปหล่อท่านชีวกโกมารภัจจ์ได้รับการชี้แนะและสนับสนุนโดยพระครูอุทัยธรรมชารี เจ้าอาวาสวัดป่ามะไฟ อำเภอดงขี้เหล็ก จังหวัดปราจีนบุรี (ปัจจุบันมรณภาพไปแล้ว) โดยความร่วมมือของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี และจัดให้มีพิธีเททองหล่อรูปท่านชีวกโกมารภัจจ์ และพุทธาภิเษกรูปหล่อฯ ขึ้นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2537 ณ วัดป่ามะไฟ อำเภอดงขี้เหล็ก จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อให้บุคลากรด้านการแพทย์แผนไทย และผู้ที่สนใจได้มีไว้เคารพบูชาตามความศรัทธา 2. จัดรายการพิเศษทางโทรทัศน์เพื่อระดมทุน การจัดรายการพิเศษทางโทรทัศน์นี้ได้รับเกียรติจากท่านผู้หญิงวิริยา ชวกุล เป็นประธานคณะกรรมการจัดงานโดยความร่วมมือจากบุคคล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก โดยใช้ชื่อรายการว่า รักพ่อหลวงไทย รักษ์การแพทย์แผนไทย เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครองศิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี และหารายได้เพื่อจัดตั้งกองทุนมูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา แต่ในการประชุมได้มีมติเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ของการหารายได้จากเพื่อจัดตั้งกองทุนเป็นเพื่อจัดตั้งมูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา เพื่อให้ผู้บริจาคมีความมั่นใจ เพราะการจัดตั้งเป็นมูลนิธิฯ สามารถใช้ประโยชน์ได้เฉพาะดอกผลเท่านั้น นับเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดในการก่อตั้งมูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา และในการจัดรายการพิเศษทางโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2537 ได้รับเงินบริจาคทั้งสิ้น 4,499,891.32 บาท 3. ขอสนับสนุนรายได้จากการออกสลากบำรุงการกุศลจากสำนักสลากกินแบ่งรัฐบาล จากการจัดรายการพิเศษทางโทรทัศน์ได้รับเงินบริจาคเพียง 5 ล้าน ซึ่งไม่เพียงพอในการสนับสนุนการดำเนินงาน เพราะแต่ละปีมีหน่วยงานที่ขอการสนับสนุนทางด้านการแพทย์แผนไทยต่อกระทรวงสาธารณสุขประมาณ 30 - 40 ล้านบาท สถาบันการแพทย์แผนไทยจึงได้ดำเนินการขอสนับสนุนรายได้จากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 300 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะได้รับดอกเบี้ยปีละประมาณ 30 - 40 ล้านบาท โดยจะต้องผ่านการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล หลายสมัย ทำให้การขออนุมัติชะงักงันไป จนถึงรัฐบาลที่มี ฯพณฯ นายเสนาะ เทียนทอง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้น การออกสลากบำรุงการกุศล จึงได้รับการอนุมัติรายได้ งวดที่ 1 กันยายน - 1 พฤศจิกายน 2539 รวม 5 งวด เป้าหมายรายได้ 300 ล้านบาทจากการจัดรายการพิเศษทางโทรทัศน์ ได้มีรายได้จำนวน 4,499,891.32 บาท สถาบันการแพทย์แผนไทยจึงได้นำไปใช้เป็นทุนแรกเริ่มในการขอจดทะเบียนมูลนิธิ โดยใช้ชื่อว่า มูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามใบอนุญาตจัดตั้งจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เลขที่ ต.462/2539 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2539 และได้รับจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิจากนายทะเบียนมูลนิธิจังหวัดนนทบุรี เลขทะเบียนลำดับที่ นบ 49/2539 ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2539 ต่อมาได้รับเงินสนับสนุนจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 300 ล้านบาท จึงได้นำไปสมทบทุนในการก่อตั้งทำให้มูลนิธิฯ มีทุนแรกเริ่มเป็นเงินสดทั้งสิ้น 305 ล้านบาท และได้นำดอกผลที่ได้มาใช้ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยที่เกี่ยวข้องตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ ทั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงทรัพย์สินเป็นทุนจดทะเบียนของมูลนิธิฯ จากเดิม 4,499,891.32 บาท (สี่ล้านสี่แสนเก้าหมื่นเก้าพันแปดร้อยเก้าสิบเอ็ดบาทสามสิบสองสตางค์) เป็น 300,559,313.40 บาท (สามร้อยห้าล้านห้าหมื่นเก้าพันสองร้อยสี่บาทเจ็ดสิบสองสตางค์) ซึ่งได้รับการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ (ตราสาร) เลขทะเบียนที่ นบ 49 ตั้งแต่วันที 20 กรกฎาคม 2542 |
วัตถุประสงค์
|
2. เป็นกองทุนสำหรับการสนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิ หน่วยงาน สมาคม และชมรมที่ดำเนินงานด้านการแพทย์แผนไทย 3. เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้มีการศึกษาและพัฒนาการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับองค์ความรู้ทางการแพทย์แผนไทย ทั้งภาครัฐ และเอกชนให้เป็นระบบครบวงจร 4. เพื่อบูรณะ และฟื้นฟูสภาพที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนไทย 5. เพื่อร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่น ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์ 6. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด |
ติดต่อมูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา
|
---|
สำนักงานบริหารงานกลาง
|
ผลิตภัณฑ์และบริการ
|
|||
---|---|---|---|---|
02-580-5159
|
- คลินิกการแพทย์แผนไทยสุพรมอาศรม
|
|||
หน่วยการเรียนการสอน
|
02-965-9636
|
|||
- สาขาเภสัชกรรมไทยและเวชกรรมไทย
|
- คลินิกการแพทย์แผนไทย แผนไทยโอสถ
|
|||
02-580-5155
|
02-527-7738
|
|||
- สาขานวดไทย
|
- ศูนย์แปรรูปผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร
|
|||
02-580-5155
|
02-580-5157
|
|||
- ศูนย์ตำราการแพทย์แผนไทย
|
||||
02-580-5157
|